วัดป่าสุทธาวาส

วัดป่าสุทธาวาส

วัดป่าสุทธาวาส-พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่นภูริทัตตมหาเถระ

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่นภูริทัตตมหาเถระ

เป็นที่ประดิษฐานอังคารธาตุและรูปหล่อเหมือนเท่าตัวจริงของ พระอาจารย์มั่น พร้อมเครื่องอัฏฐบริขาร และการแสดงเรื่องราวชีวประวัติของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่ยึดปฏิปทาธุดงค์อย่างเคร่งครัด และได้รับการยกย่องนับถือจากบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั่วประเทศ พระอาจารย์มั่นมีภูมิลําเนาเดิมอยู่ที่อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2413 อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2436 ท่านออกเดินธุดงค์ไปทั่ว ทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ภายหลังได้มาจําพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร จนมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2492 รวมอายุได้ 80 ปี

ประวัติพระอาจารย์มั่น

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนาที่ได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง ของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศและประเทศใกล้เคียง

ท่านถือกําเนิดในสกุลแก่นแก้ว โดยมีนายคําด้วงเป็นบิดา และนางจันทร์ เป็นมารดา ในวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20  เดือนมกราคม พุทธศักราช 2513 ณ บ้านคําบง ตําบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่ออายุ 15  ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ณ วัดบ้านคําบง ต่อมาภายหลังอีก 2 ปี ได้ลาสิกขาบทตามคําขอร้องของโยมบิดา เพื่อให้ไปช่วยการงานทางบ้าน

เมื่ออายุได้ 22  ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเสียบ อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พุทธศักราช 2436 โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ตลอดระยะเวลาได้ศึกษาพระธรรม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยอุตสาหะ วิริยะ เผยแพร่พระพุทธธรรมและสั่งสอนอบรมธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ด้วยความมุ่งมั่นจริงจัง และไม่ละกาล จนเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าสานุศิษย์สืบมา

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ มรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนครแห่งนี้ เจริญชนมายุยืนยาวถึง 80 ปี พรรษาที่ 57 ล่วง

ผ้าอื่น ๆ

ผ้าที่พระอาจารย์ใช้ประจําวันมี ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ผ้าเช็ดบาตร ผ้าเช็ดปาก ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดเท้า ถุงเท้า และผ้าบริขารที่เรียกรวม ๆ กันว่า “บริขารโจล”
ผ้าเหล่านี้ ท่านปะชุนด้วยตนเองทั้งสิ้น ท่านใช้อย่างกระเหม็ดกระแหม่ ไม่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย และบําเพ็ญสมณธรรมตามสมณวิสัย อย่างหายกังวล

อัฐบริขาร ของพระธุดงค์

อัฐบริขาร ของพระธุดงค์

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ใช้อัฐบริขารที่จําเป็นต่อสมณเพศ เหมือนกับพระสงฆ์ทั่ว ๆ ไป คือ

สบง ใช้เป็นผ้านุ่ง

จีวร ใช้เป็นผ้าห่ม สังฆาฏิ

สังฆาฏิ ใช้เป็นผ้าห่มกันหนาว และใช้พาดบ่าในโอกาสที่จะต้องทําพิธีสังฆกรรมต่างๆ

บาตร สําหรับใส่ภัตตาคาร

มีดโกน สําหรับปลงผม (นายแพทย์เจริญ วัฒนสุชาติมอบให้)

เข็ม สําหรับเย็บผ้า

รัดประคต สําหรับคาดเอวแทนเข็มขัด

ธมกรก หม้อกรองน้ำซึ่งเป็นบริขารจําเป็นประจําองค์พระ

หนังสือเกี่ยวกับธรรม

แม้พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ จะปฏิบัติธุดงค์ กรรมฐาน และอยู่ตามป่าเขาต่าง ๆ เป็นประจําก็ตาม แต่ท่านก็มิได้ละเว้น ที่จะศึกษาหนังสือธรรมอื่น ๆ เช่น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายศึกษากัน อีกทั้งยังเก็บรักษาเอกสารที่สําคัญ ไว้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง หนังสือเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นหลักธรรมคําสอนต่าง ๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และบางส่วนเป็นนิทานอิงธรรมะ ซึ่งสํานักพิมพ์ต่าง ๆ พิมพ์ขึ้น เผยแพร่
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เคยอธิบายให้ สานุศิษย์ฟังเสมอว่า
“…หนังสือชาติใดก็ตาม สามารถจารึกคําสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทั้งนั้น จึงควรเคารพยําเกรง…”
โวหารธรรมของท่าน อันศิษยานุศิษย์พึงจดจําเป็น เนติแบบอย่างสืบต่อไป
“ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ”
“ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิด แห่งสมบัติทั้งปวง”

เครื่องใช้ประจําวัน

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรมและการแผ่กุศล คุณความดี ยึดหลักของชีวิตสมณเพศอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้ เครื่องใช้ประจําวันของท่านจึงมีเฉพาะสิ่งที่จําเป็นในการดํารงชีพเท่านั้น วัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าท่านตัดวัตถุทั้งหลายทั้งปวงออกจากบ่วงของกิเลสจนหมดสิ้น

บริขารเบ็ดเตล็ด

นอกจากวัตถุที่ท่านใช้ในการบําเพ็ญสมณเพศตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีวัตถุอื่น ๆ อีกกลุ่มละเล็กละน้อย ซึ่งศิษยานุศิษย์ได้นํามาเก็บรวบรวม และจัดแสดงไว้เป็นอนุสรณ์บูชา ซึ่งหากท่านผู้ใดยังมีวัตถุเครื่องใช้อันใดของท่านอยู่ในครอบครองอีก และเห็นว่าควรจะนํามาเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน ก็น่าจะเป็นที่ยินดีของสาธุชนทั้งหลาย ที่มีความเคารพนับถือ
กระโถนปากแตร วัดนาคนิมิตร มอบให้
อ่างไม้บดยาและย้อมผ้า วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร มอบให้
สมุนไพร และถุงยาง
กระโถนดินเผา วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร มอบให้
ตะกร้าโคมไฟ ใช้จุดให้ความสว่างแทนไฟฉาย เวลาเดินจงกรม
กระบอกกระโถนไม้ไผ่ ท่านใช้ประจําในที่พักเช่นเดียวกับบริขารอื่น ๆ หากเปลี่ยนที่พัก ท่าน
ก็จะให้ญาติโยมทํากระบอก ไม้ไผ่ต่างกระโถนถวายท่านแทบทุก
แห่งไป ท่านจะใช้อะไรง่าย ๆ แต่ได้ประโยชน์รวดเร็ว ทันใจ

ปฏิปทาทางธุดงควัตร

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ได้ดําเนินปฏิปทาธุดงคกรรมฐานเป็นหลักปฏิบัติสืบต่อมา อย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ กล่าวคือ ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร ถือนั่งอาสนะเดียว (ฉันมือเดียว) เป็นวัตร ถือฉันเฉพาะภาชนะ อันเดียว คือ ฉันสํารวมในบาตรเป็นวัตร ถือห้ามไม่รับภัตตาหารที่เขานํามาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรยินดีเท่านั้นเป็นวัตร ถือไม่นอนในบางครั้งเป็นวัตร ธุดงค์บางข้อที่ยากต่อการปฏิบัติเนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับกาลเวลาไม่สามารถถือปฏิบัติได้เสมอไป ท่านก็ถือปฏิบัติธุดงควัตรข้อนั้น ๆ ตามโอกาสเช่นกัน

เครื่องใช้ในการธุดงค์ ตลอดเวลาในชีวิตสมณเพศของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านใช้ไปในการธุดงค์ ตามป่าเขาลําเนาไพร เพื่อแสวงหาความสงบเป็นส่วนใหญ่ โดยจาริกไปตามขุนเนาต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกหมอเกือบตลอด จนกล่าวได้ว่าท่านได้บรรลุธรรมชั้นสูง นอกจากอัฐบริขารที่จําเป็นแล้ว ท่านยังมีเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จําเป็นต่อธุดงควัตรอีก เช่น กลด มั่ง บังอาน ฯลฯ ธมกรก พระครูสุทธิธรรมรังษี (เจี๊ยะ จุนโท) วัดภูริทัตตปฏิปทาราม อําเภอสามโคก
จังหวัดปทุมธานี มอบให้ สายระเดียง ใช้เป็นเชือกทําราวผ้า หรือแขวนกลด หมอน พระสุจินต์ วัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร มอบให้ หนังจัมมขันธ์ แผ่นหนังใช้ปูนั่ง นอน วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร มอบให้บั้งถาน กระบอกไม้ไผ่ใส่น้ํา ใช้ทําความสะอาดหลังถ่ายเวลาออกธุดงค์

เจดียจันทสารเจติยานุสรณ์

จันทสารเจติยานุสรณ์ หรือ เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโรก่อสร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงร่างแบบพระราชทานเบื้องต้นในการก่อสร้างอาคารหลังนี้และมีพระราชกระแสรับสั่งว่า

“ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้ มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน”

หลังจากนั้นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทำพิธีเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย โดยภายในมีการจัดแสดงรูปเหมือนของ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร และเครื่องอัฐบริขารของท่านหลวงปู่หลุยด้วย

หลวงปู่หลุย จันทสาโร

หลวงปู่หลุย จันทสาโร เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และนางกวย (สุวรรณภา)
วรบุตร ในช่วงวัยเด็กท่านศึกษาจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และได้ทำงานเป็นเสมียน กับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อ.เชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จ.ร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด ท่านได้นับถือศาสนาคริสต์ อยู่ 5 ปี จนลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุยส์ หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และต่อมาท่านได้กลับใจเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาพุทธแทน และได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2466 เป็นพระมหานิกาย ณ อ.แซงบาดาล จ.ร้อยเอ็ด ในช่วงพรรษาที่ 1 ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม

ที่มา https://www.iotopsakon.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA/