พระตําหนักภูพานราชนิเวศน์

พระตําหนักภูพานราชนิเวศน์

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ 

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  จังหวัดสกลนคร เป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นในบริเวณเทือกเขาภูพาน ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงเลือกพื้นที่สร้างพระตำหนักด้วยพระองค์เอง ทรงใช้แผนที่ทางอากาศและการเสด็จสำรวจเส้นทางบริเวณ ป่าเขา น้ำตก เป็นปัจจัยในการกำหนดเขตพื้นที่ก่อสร้างพระตำหนักและบริเวณพระตำหนักซึ่งประกอบด้วยเขตพระราชฐานชั้นในและ เขตพระราชฐานชั้นนอก พื้นที่บริเวณพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อแรกตั้งพระตำหนักมี ๙๔๐ ไร่ ในเวลาต่อมาได้ขยายเขตพื้นที่ เพื่อ จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพป่าคืนชีวิตสู่ธรรมชาติอีกประมาณ ๑,๐๑๐ ไร่ รวมเป็นพื้นที่ ๑,๙๕๐ ไร่ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นแหล่งที่สะดวกต่อการเดินทางไปท่องเที่ยว ทั้งนี้เพราะอยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองสกลนครอยู่ริมถนนหลวงสายสกลนคร – กาฬสินธุ์ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทั้งรถยนต์ส่วนตัวและการนำพาหนะเข้าชม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่กองรักษาการ เพื่อเข้าชมพระตำหนักชั้นนอกได้โดยสะดวก หากต้องการชมพระตำหนักชั้นในต้องติดต่อทางราชการเพื่อขออนุญาตจากผู้ดูแล พระตำหนักเป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้ ในระหว่างที่ไม่มีพระองค์ใดประทับอยู่ ทางสำนักเลขาธิการพระราชวังจะอนุญาติให้ประชาชน ทั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เรียกว่าเป็นสวรรค์ของคนรัก ต้นไม้ได้เลยทีเดียว เนื่องจากภายในเต็มไปด้วย ไม้นานาพรรณโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งนี้ พันธุ์ไม้ที่เป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ได้แก่ พันธุ์ไม้ดอกจากป่าภูพาน อาทิ ดุสิตา มณีเทวา และทิพย์เกสร ซึ่งจะมีให้ชมเฉพาะช่วงหน้าหนาว  สอบถามผู้ดูแลพระตำหนัก ฯ โทร 042 711550 

หมู่พระตำหนัก

อาคารต่างๆ ภายในเขตพระราชฐานที่เรียกรวมๆ ว่า “หมู่พระตำหนัก” มีสไตล์การตกแต่งที่เรียบหรู ดูคลาสสิก ส่วนใหญ่เป็น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่

๑.หมู่พระตำหนัก หมู่พระตำหนักประกอบด้วย อาคารหลังพระตำหนักปีกไม้ เป็นพระตำหนักหลังแรก สร้างใน พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นรูปแบบล็อกเดขิน ใช้เป็นเรือนรับรองหลังแรก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้าง พระตำหนักใหญ่เป็น ตึกสองชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ บริเวณเนินหน้าผาห่างจากพระตำหนักปีกไม้ ประมาณ ๕๐๐ เมตร และยังได้ก่อสร้าง พระตำหนักที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน และต่อมาได้มีการสร้างพระตำหนักหลังหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกัน รวมเป็นพระตำหนัก ๔ หลัง
ห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ได้สร้างบ้านพัก พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒ (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) นอกจากอาคารพระตำหนักและบ้านพักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดังกล่าวแล้ว ยังมีอาคารบ้านพักข้าราชการฝ่ายในอีก ๖๘ หลัง อยู่รายรอบมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับอย่างสวยงาม ตามลักษณะภูมิทัศน์ช่วยส่งเสริมให้พระตำหนักมีความสดชื่น งดงาม ดูเด่น เป็นสง่าน่าประทับใจ ๒.งานภูมิทัศน์ งานภูมิทัศน์ถือว่าเป็นส่วนที่ดึงดูดให้ประชาชนเข้าชมด้วยความประทับใจ การจัดภูมิทัศน์อาศัย สภาพพื้นที่เป็นพื้นฐานในการจัดคือ ลักษณะพื้นที่เป็นเชิงเนินชายเทือกเขาภูพานตอนกลาง และอาศัยสภาพผิวหน้าดินเป็นหลักในการ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับคือ เป็นภูเขาหินทรายปกคลุมด้วยผังดินทรายสลายบนดินลูกรัง โดยหลักการดังกล่าว

สวนในพระตำหนักภูพานอาจจัดสวนได้ ๕ รูปแบบคือ

๑. สวนรวมพันธุ์ไม้ (Mixed garden)
๒. สวนแบบประดิษฐ์ (Formal Style)
๓. สวนแบบธรรมชาติ (Informal Style)
๔. สวนหินประดับประดา (Rock garden)
๕. สวนประดับหิน (Stone garden)

จุดเด่นในบริเวณนี้อยู่ที่ไม้พันธุ์ต่าง ๆ จะมีดอกออกดอกตลอดปี และในที่นี้มีต้นพลองออกดอกสีม่วง เป็นต้นไม้ป่าซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงโปรดมาก ที่เรือนคำหอมบริเวณนี้ประดับด้วยพันธุ์ไม้ดอกจากป่าภูพาน เช่น ดุสิตา มณีเทวา สวิสจันทร์ ทิพย์เกสร ดอกสร้อยสุวรรณ รวมทั้งดอกเทียนป่า การปลูกประดับจะปลูกได้ในปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว ดอกไม้เหล่านี้เป็นที่ชื่นชม ของประชาชนผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก และยังมีโรงช้างต้นอยู่ภายในบริเวณพระตำหนักด้วย 

การเดินทางมายังพระตำหนัก
เส้นทางเข้าสู่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ หมายเลข ๒๑๓ บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๔ ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ ๑๖ กิโลเมตร

ที่มา คลิก

ดูสถานที่ต่อไป คลิก